เห็ดหลินจือ กับโรคมะเร็ง
สารสำคัญที่อยู่ในเห็ดหลินจือ ที่ช่วยบำบัดโรคมะเร็ง
สารไตรเทอร์พีน (Triterpene)
หรือกรดไขมันของเห็ดหลินจือ ซึ่งจะพบเข้มข้นมากในสปอร์ของเห็ดหลินจือเท่านั้น กลุ่มสาร Triterpene หรือ Triterpenoid เป็นกลุ่มสารที่มีสาระสำคัญทางยากว่า 100 ชนิด โดยสารที่มีส่วนสำคัญในการรักษาโรค เช่น กรดกาโนเดอริค (Ganoderic acid A,B,C1,C2,D-K,R-Z) และกรดลูซิเดนิค (Lucidenic acid) ปัจจุบันมีการค้นคว้าวิจัย รวมถึงการจดสิทธิบัตรสารไตรเทอร์พีน โดยมีข้อบ่งชี้ว่าเป็นสารที่ช่วยบำรุงตับ กระตุ้นการทำงานของตับ และช่วยขจัดสารพิษออกจากตับ โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่เป็นโรคตับแข็ง ตับอักเสบจากเชื้อไวรัส และ จากการดื่มสุรา สาร Triterpene นอกจากสกัดได้จากเห็ดหลินจือแล้ว ยังพบในพืชชนิดอื่นๆ บ้าง แต่จุดประสงค์ในการใช้สารนี้ตรงกันทั่วโลก คือ มุ่งไปที่การรักษามะเร็ง เช่น สถาบันโรคมะเร็งสโลนเก็ตเตอร์ริง ในสหรัฐอเมริกา(Memorial Sloan-Kettering Cancer Center) ได้มีการศึกษาสาร Triterpene เป็นสารต้านมะเร็ง รักษามะเร็งและสร้างเนื้อเยื่อใหม่ ในประเทศโปแลนด์พบว่า การใช้สาร Triterpene กับคนไข้มะเร็งส่วนใหญ่มีอาการดีขึ้น ก้อนเนื้องอกอ่อนนิ่มลง อาการเจ็บปวดดีขึ้น ผู้ป่วยนอนหลับดีและกินอาหารได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดผลข้างเคียงของการรักษามะเร็งโดยใช้เคมีบำบัด (Chemotherapy) และ การฉายแสง (Radio Therapy)คุณประโยชน์ของสารกลุ่มนี้มีมากมาย แต่การสกัดสารนี้ค่อนข้างยากและต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และสำหรับเห็ดหลินจือนั้นจะพบสารกลุ่มไตรเทอร์พีนเข้มข้นเฉพาะในสปอร์เท่านั้น
โพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharide)
เป็นสารอาหารที่มีประโยชน์อีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นที่รู้จักและพบได้ในเห็ดหลินจือสกัดและสปอร์เห็ดหลินจือ โดยเป็นสารที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกาย กระตุ้นการทำงานและเสริมสร้างเม็ดเลือดขาว ช่วยต่อต้านอาการภูมิแพ้ ต่อต้านมะเร็ง ในผู้ป่วยมะเร็งที่มีการรักษาด้วยเคมีบำบัดที่มักพบผลข้างเคียงทำให้ผู้ป่วยอ่อนแอ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันและเม็ดเลือดขาวลดต่ำลง สารโพลีแซคคาไรด์จึงมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างเม็ดเลือดขาวให้เพียงพอในการต่อต้านโรคติดเชื้อต่างๆ ในผู้ป่วยที่ทำเคมีบำบัด ด้วยเหตุที่สปอร์และดอกเห็ดหลินจือมีสารอาหารสำคัญนับร้อยชนิด และจากหลักฐานทางวิชาการและงานวิจัยทดลอง สามารถสรุปในเชิงเภสัชวิทยาว่าหลินจือออกฤทธิ์ต่อระบบในร่างหลายระบบ จึงช่วยฟื้นฟูอาการป่วยได้หลายโรค เช่น • กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน เสริมสร้างการผลิตเม็ดเลือดขาว - บรรเทาอาการภูมิแพ้ และลดผลข้างเคียงของการทำคีโมและการฉายแสงในผู้ป่วยมะเร็ง • บำรุงตับ ปกป้องตับจากสารพิษ - บรรเทาอาการตับอักเสบจากสารเคมี เชื้อโรค และแอลกอฮอล์ ช่วยขับพิษออกจากร่างกาย • ชะลอการก่อตัวของเกร็ดเลือดและละลายลิ่มเลือด - บรรเทาอาการของหลอดเลือดหัวใจตีบ บรรเทาอาการของหลอดเลือดในสมองตีบ ลดความดันโลหิต • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้อินซูลิน - บรรเทาอาการเบาหวาน
สารอดีโนซีน Adenosine ช่วยปรับปรุงการไหลเวียนโลหิต
โดยยับยั้งมิให้เกล็ดเลือดรวมตัวกัน การศึกษาก่อนหน้านี้โดยทีมนักวิจัย จากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง สาขาการแพทย์จีนแผนโบราณพบว่า เห็นหลินจือช่วยปรับปรุงการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดแดงในการส่งถายออกซิเจน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับคุณสมบัติของ Adenosine ในเห็ดหลินจือ Adenosine ยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลกระตุ้นให้เกิดการเผาผลาญและสร้างเสริมพลกำลัง และความกระปี้กระเปร่า |
เห็ดหลินจือกับโรคมะเร็ง
เห็ดหลินจือเป็นยาอายุวัฒนะ เป็นยาที่ใช้ในการต่ออายุจากโรคร้ายต่างๆ |
มีบทสรุปรายงานของการวิจัยกว่าร้อยโครงการที่ค้นพบสารออกฤทธิ์ต่อต้านมะเร็งในเห็ดหลินจือ ตัวแรกคือ สารเบต้ากูลแคนหรือที่เรียกสั้นๆว่า กลูแคน ต่อมาก็พบคาร์โบไฮเดรตจำพวก พอลิเซ็กคาไรด์ อีกหลายชนิดที่มีฤทธิ์ในการต่อต้านหรือยับยั่งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
ในประเทศเกาหลีมีรายงานว่าสามารถใช้สารสกัดจากเห็ดหลินจือรักษาหนูที่เป็นมะเร็งในตับ (Sacroma180) จนหายเป็นปกติ
ในญี่ปุ่น มีการทดลองใช้น้ำต้มเห็ดหลินจือฉีดเข้าช่องท้องหนูที่เป็นมะเร็ง ถ้าใช้น้ำเห็ด 100 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักหนู 1 กก. จะสามารถหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ 96.5% ถ้าฉีดขนาด 500 มิลลิกรัมจะหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ 98.6% และมีการทดลองใช้รักษาหนูที่โรคมะเร็งร่วมกับเคมีบำบัด (5 FU) ซึ่งให้ผลได้ดีกว่าใช้ยารักษามะเร็งตัวอื่นเพียงอย่างเดียว
ในจีนและใต้หวันก็มีการทดลองใช้เห็ดหลินจือรักษาหนูที่เป็นมะเร็ง และมีรายงานว่าหนูที่ฉายรังสีจากการเป็นโรคมะเร็งร่วมกับการใช้เห็ดหลินจือ จะมีน้ำหนักตัวเป็นปกติ และมีภาวะแทรกซ้อนจากรังสีน้อยกว่าหนูที่ไม่ได้ใช้เห็ดหลินจือ ที่คณะแพทย์ศาตร์ปักกิ่งพบว่าการเพิ่มสารอินเตอร์ลิวคิน สารอิมมูโนโกลบูลิน ซึ่งเป็นตัวเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค และมีอีกหลายสถาบันของจีน ที่พบการเพิ่มขึ้นของเซลล์ทีทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอม ( Macrophage) การเพิ่มการทำงานของเซลล์ที่ทำหน้าที่เก็บกินเซลล์ผิดปกติอื่นๆ ( Matueal Killercells ) มีการทดลองรักษาโรคมะเร็งในตับของหนูเป็นเวลา 10 วัน ก็ให้ผลในในการหยุดมะเร็งได้95.6-98.5 % ไกล้เคียงกับการทำลองในญี่ปุ่น
ในแผนกภูมิคุ้มกันโรคในเมืองซานฟราซิสโก สหรัฐอเมริกา พบว่าสารสกัดเห็ดหลินจือช่วยกระตุ้นการทำงานของสารไคโตไซน์ และเม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันโรค สำหรับการรักษาโรคในผู้ป่วยที่มีรายงานในวารสารทางวิชาการก็มีตัวอย่างในการใช้เห็ดหลินจือ ร่วมกับยาอื่นในการรักษาโรคมะเร็งไขกระดูก ที่โรงพยาบาลแพทย์แผนจืนในเชี่ยงไฮ้ และการใช้ในผู้ป่วยมะเร็งในกระเพาะอาหารในประเทศญี่ปุ่นในทางปฎิบัติ แพทย์มักจะแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานเห็ดหลินจือต้ม หรือชนิดที่สกัดเป็นยาสำเร็จรูปในการรักษาโรคมะเร็งควบคู๋กับการรักษาโดยยาจีนหรือยาแผนโบราณอย่างอื่น หรือร่วมกับการรักษาแผนปัจจุบัน เพื่อเป็นการเสริมฤทธิ์ในการรักษาโรคมะเร็งการลดภาวะแซกซ้อน หรืออาการไม่พึงประสงค์ เช่น อ่อนเพลีย คลื่นใส้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาเจียน ผมร่วง จากยามะเร็งที่เป็นเคมีบำบัดทั้งชนิดรับประทาน ชนิดฉีดและจากการฉายรังสี หรือใช้ก่อนผ่าตัดเอาก้อนเนื้อร้ายออก นอกจากนี้การที่เห็ดหลินจือมีคุณสมบัติในการช่วยกำจัดพิษในร่างกาย การช่วยเสริมภูมิคุ้มกันโรค ก็มีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มากขึ้น โดยไม่ต้องกังวลต่ออันตรายที่จะเกิดจากการใช้เห็ดหลินจือไปนานๆ เพราะจากการทดลองทางด้านพิษวิทยาและจากการรักษาผู้ป่วยมาหลายปี ยังไม่เคยประกฎว่ามีภาวะแทรกซ้อนแต่อย่างใด แต่ได้ใช้เห็ดหลินจือเพียงอย่างเดียวเป็นทางเลือกสุดท้ายก็กลับทำให้ร่างกายและจิตใจสบายขึ้น ทานอาหารได้ไม่ค่อยทรมานจากอาการแทรกซ้อนต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการตรวจพบว่าก้อนมะเร็งเล็กลงและสามารถยืดอายุได้ไปอีกหลายปี
ข้อมูล อ้างอิงจากหนังสือ เห็ดหลินจือ LING ZHI โดย นายแพทย์ สุรพล รักปทุม และ นายแพทย์ชวลิต สันติกิจรุ่งเรือง
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น