เห็ดหลินจือสารออกกฤทธิ์สรรพคุณทางยา
เป็นเวลานานกว่า 30 ปี ที่แพทย์และนักวิทยาศาสตร์ในจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ใต้หวัน สหรัฐอเมริกาและประเทศต่างๆ ได้ทำการศึกษาถึงสารออกฤทธิ์และสรรพคุณทางยาของเห็ดหลินจือ โดยการตรวจสอบโครงสร้างทางเคมีการทดลองในห้องปฎิบัติการด้วยกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสมัยใหม่และการรวบรวมข้อมูลทางสถิติที่ได้จากการรักษาโรคในผู้ป่วย ปี ค.ศ. 1958 ประเทศญี่ปุ่นเป็นชาติแรกที่นักวิจัยได้เผยแพร่รายงานการค้นพบองค์ประกอบทางเคมีของเห็ดหลินจือ ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีมากกว่า 150 ชนิด และพอจะจำแนกสารออกฤทธิ์ได้ดังต่อไปนี้
1) สารไตรเทอร์พี่นอยด์ชนิดขม (Bitter Triterpenoid )
สารไตรเทอร์พี่นอยด์ เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่ไม่ใช่ไขมันแต่มีคุณสมบัติคล้ายไขมัน สารที่มีรสขมส่วนใหญ่จะอยู่ที่ดอกและก้าน ใช้ในการจำแนกสายพันธุ์ต่างๆ ของเห็ดหลินจือ แต่ก่อนสันนิฐานว่าส่วนที่มีรสขมนี้เป็นสำคัญของตัวยาที่จะใช้รักษาโรค แต่จากการวิจัยพบว่าเห็ดหลินจือจะต้องประกอบด้วยส่วนที่ไม่ขมอีกหลายอย่างที่มีสรรพคุณทางยาด้วย โครงสร้างทางเคมีของสารไตรเทอร์พีนอยด์ชนิดต่างๆกันประมาณ 100 ชนิด แต่ส่วนที่มีความสำคัญในการรักษาโรค คือ กรดกาโนเดอริค Ganoderic และกรดลูซิเดนิล Lucidenic acid ส่วนกรดกาโนเดอร์มิค (Ganodermic acid) กรดกาโนเดอเรนิก (Ganoderenic) ลูซีโดน ( Lucidone ) กาโนเดอราล (Ganoderal) กาโนเดอรอลส์ (Ganoderols) กรดกาโนรูซีดิค (Ganolucidic acid) และอื่นๆ พบได้ไม่มากนัก กลุ่มของสารเหล่านี้โดยเฉพาะกรด กรดกาโนเดอริค เป็นตัวยับยั้งการหลั่งสารฮีสตามีน ซึ่งเป็นตัวทำให้เกิดปฎิกิริยาชนิดหนึ่ง ช่วยลดความดันโลหิต และช่วยลดไขมันในเลือด การลดไขมันนี้ มีผลในด้านป้องกันการอุดตันของไขมันในเส้นเลือด และการบำบัดรักษาหลังจากเกิดการอุดตันแล้ว นอกจากนี้ยังพบฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในตับ และต้านสารพิษที่มีอยู่ต่อตับ ได้อีกด้วย |
2. พอลิแซ็กคาไรด์ ( Polysaccharide) |
พอลิแซ็กคาไรด์เป็นน้ำตาลโมเลกุลใหญ่ซึ่งเป็นสารประกอบเชิงซ้อนที่อาจเกาะติดกับโปรตีนหรือสารอื่นๆ ในเห็ดหลินจือมีสาร พอลิแซ็กคาไรด์ หลายชนิดที่มีสรรพคุณทางยา ได้แก่ กาโนเดอแรนส์ ( Ganoderrans A,B,C) ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ( hopoglyemic effect ) จากการเพิ่มอินซูลินทำหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด สารเบต้าดีกูลเคน (Bata-D-Glucan) และพอลิแซ็กคาไรด์อีกหลายตัว มีฤทธิ์รวมกันในการเพิ่มสังเคราะโปรตีนในเลือด ไขกระดูกและในตับ ช่วยลดการอักเสบ (Anti-inflammation) ช่วยกระตุ้นการทำงานเม็ดเลือดขาวชนิดบี-เซลล์ ( B-cells) และที-เซลล์ ( T-cells) ซึ่งจากการทดลองจะเห็นการเพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัดของสารอิมมูโนโกลบิน ( Immunoglobulin) สารอินเตอร์ลิวคิน ( Interleukin) ทำให้เห็ดหลินจือมีผลในการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันโรค ( Immunomodulation) เมื่อทำการทดลองในสัตว์ก็พบว่าความสามารถในการปรับปรุงระบบภูมิคุ้มกันนี้มีผลต่อเนื่องในการต่อต้านสารแพ้ (Antiallergy) การต่อต้านเชื้อไวรัส (Antivirus ) การต่อต้นโรคมะเร็ง (Antitumour) และการลดภาวะแทรกซ้อนจากการใช้เคมีบำบัดและรังสีบำบัดในผู้ป่วยโรคมะเร็ง ในประเทศญี่ปุ่นมีการสกัดสารเบต้าดีกูลแคน เพื่อใช้เป็นยาควบคู่กับเคมีบำบัดในผู้ป่วยโรคมะเร็งของกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ยังมีสารกึ่งเซลลูโลส (Hemicellulose) ซึ่งเป็นอาหารที่มีกากยังช่วยลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งและพอลิแซ็กคาไรด์บางตัวก็ยังช่วยเพิ่มความแรงในการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ
|
3.สเตอรอยด์ (Steroids) |
มีปริมาณอยู่เพียงเล็กน้อยแต่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ที่ตรวจพบในเห็ดราทั่วไปรวมถึงเห็ดหลินจือก็คือ เออร์โกสเตอรรอลอ (Ergosterol) หรือ โปรวิตามินดี 2 (Provitamin D2) ร่างกายสามารถเก็บสะสมไว้ใต้ผิวหนังเมื่อได้รับแสงอุลต้าไวโอเลตจากแสงแดดก็จะสังเคาะห์เป็นวิตมินดี เพื่อช่วยในการดูดซึมของแคลเซี่ยม ฟอสฟอรัสในลำใส้ และเสริมความแข็งแรงของกระดูกและฟัน ส่วนที่มีเฉพาะในเห็ดหลินจือก็คือ กาโนสเตอโรน (Ganosterrone) หรือกาโดสเตอโรน ( Ganodosterrond) มีฤทธิ์ในการลดพิษที่มีต่อตับ ในประเทศเกาหลีใช้เป็นยาบำรุงตับ สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคตับแข็งและโรคตับอักเสบ
|
4.กลุ่มสารนิวคลีโอไทด์ (Nucleotides) |
มีการค้นพบสาร อะดีโนไซน์ (Adenosine ) ในเห็ดหลินจือซึ่งเป็นสารอินทรีย์ที่เป็นตัวเก็บพลังงานจากการหายใจ และพร้อมที่จะแตกตัวให้พลังงานในระดับสูงออกมาเมื่อรางกายต้องการ จากทดลองพบว่าสารอะดีโนไซน์ มีผลในการบรรเทาความเจ็บปวด (Analgesic) และมีฤทธิ์เช่นเดียวกับกัวโนไซน์ (Gaunosine) ซึ่งเป็นนิวคลีโอไทด์ที่พบในเห็ดหลินจือ ในการยับยั้งการรวมกลุ่มของเกร็ดเลือด จึงมีสรรพคุณในการป้องกันการอุดตันจากลิ่มเลือดในเส้นเลือด ทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดโรคอัมพาต อัมพฤกษ์ลงได้ และยังค้นพบสารอาร์เอ็นเอ (RNA)ชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติคล้ายอินเตอร์เฟอรอน ซึ่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัส
|
5. สารประกอบเยอรืมาเนียม (Germanium,Ge) เยอร์มาเนียมเป็นธาติแข็ง พบในโสมทั่วไป ในกระเทียม และพบมากในเห็ดหลินจือ เป็นตัวส่งเสริมขบวนการทำงานของร่างกาย สามารถรวมตัวและช่วยกำจัดสารพิษและสิ่งแปลกปลอมต่างๆมีการใช้ร่วมกับยาแผนปัจจุบันเพื่อกำจัดพิษและอาการไม่พึงประสงค์ และยังพบว่าสามารถลดความเจ็บปวดในผู้ป่วยโรคมะเร็งได้
นอกจากสารออกฤทธิ์ที่กล่าวถึงข้างต้นแล้วยังมีการค้นพบองค์ประกอบอื่นๆอีกหลายชนิดที่มีสรรพคุณทางยาเช่น กรดไขมันชนิดโอเลอิค และ สารไซโคลอ๊อกต้าซัลเฟอร์ ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการหลั่งของฮีลตามีน สารไกลโปรตีน บางชนิดมีฤทธิ์ต่อต้านความพิการของทารก มีโปรตีนที่เป็นเอ็นไซม์จำพวกไลโซไซม์ โปรติเอส ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นยาปฎิชีวนะ ทำหน้าที่ย่อยสลายเชื่อแบคทีเรีย มีการค้นพบสารที่สามารถระงับอาการไอ ขับเสมหะในผู้ป่วยหลอดลมอักเสบเรื้อรัง สารที่ช่วยขยายหลอดลมในผู้ป่วยโรคหอบหืดสารที่ช่วยลอกฝ้ากระ และสารที่มีคุณสมบัติในการชลอความแก่ จะเห็นได้ว่าสรรพคุณของเห็ดหลินจือนี้มีมากมายและกว้างขวางเหมือนกับเป็นยาครอบจักรวาล โดยเฉพาะส่วนใหญ่จะเหมาะกับผู้สูงอายุ และวัยก่อนสูงอายุ ทั้งในด้านการป้องกันและการบำบัดรักษา เพาะองค์ประกอบทั้งหมดของเห็ดหลินจือจะเกี่ยวข้องกับผู้อยู่ในวัยก่อนสูงอายุและโรคผู้สูงอายุทั้งสิ้น ไม่หวังว่าจะเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง อาการปวดเมื่อยอ่อนเพลีย โรคมะเร็ง และการชลอความแก่ และเนื่องจากความเป็นอมตะของเห็ดหลินจือในประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่าพันปี และมีบรรดาแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยและผู้ให้ความสนใจที่ติดตามเรื่องราวอย่างไกล้ชิด ต่างก็ยอมรับในคุณค่าของเห็ดหลินจือ จึงมีรายงานค้นคว้าวิจัยอย่างละเอียดในหลายประเทศ ทั้งในด้านเภสัจวิทยา การทดลองและการศึกษาทางเทคนิคในการบำบัดรักษาผู้ป่วย ซึ่งนับเป็นตัวอย่างที่ดีในการในการเป็นบรรทัดฐานของการศึกษาวิจัยยาสมุนไพรที่เป็นวิทยาศาสตร์ตลอดจนได้รับความร่วมมือระหว่างประเทศและถ้าหากมีความพยายามเช่นนี้เกิดขึ้นกับยาสมุนไพรตัวอื่นๆ ก็คงจะมียาใหม่อีกมากมายที่สามารถให้คุณประโยชน์แก่มวลมนุษย์ได้อย่างกว้างขวาง เช่นเดียวกับเห็ดหลินจืออย่างแน่นอน
|
ข้อมูล อ้างอิงจากหนังสือ เห็ดหลินจือ LING ZHI โดย นายแพทย์ สุรพล รักปทุม และ นายแพทย์ชวลิต สันติกิจรุ่งเรือง |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น